นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบหนอนที่สามารถย่อยสลายถุงพลาสติกได้

ปัญหาของถุงพลาสติกเก่าที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมากมันส่งผลไปทั่วโลกโดยเฉพาะระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนเราต้องรีบช่วยกันแก้ไขปัญหา ถึงแม้ว่าตอนนี้หลายองค์กรจะมีนโยบายในการรณรงค์ให้ช่วยกันลดใช้ถุงพลาสติกแล้วก็ตาม แต่ว่าปัญหาเหล่านี้มันถูกสะสมมาเป็นเวลานานแล้วจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถแก้ไขได้ในเร็ว ๆ นี้

แต่ก็มีข่าวดี! เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเจ้าหนอนชนิดหนึ่งที่สามารถกินถุงพลาสติกที่เป็นแบบโพลีเอทิลีน ซึ่งเป็นชนิดที่พบเจอมากที่สุดในโลก เจ้าหนอนชนิดนี้มันสามารถที่จะย่อยสลายถุงพลาสติกโพลีเอทิลีนได้มากกว่าการสัตว์ชนิดอื่นที่เคยค้นพบมากกว่า 1,400 เท่าเลยทีเดียว

เจ้าหนอนที่ถูกค้นพบมีชื่อว่า Waxworm มันเป็นตัวอ่อนของมอดขี้ผึ้ง โดยส่วนมากแล้วจะสามารถพบเจอพวกมันในรังผึ้ง และมันถือไม่ได้ว่าเป็นศัตรูที่สำคัญของพวกผึ้งเลยก็ว่าได้

Dr. Federica Bertocchini นักชีววิทยาผู้ที่ค้นพบหนอนตัวนี้หลังจากที่เขานั้นได้เข้าไปทำความสะอาดรังผึ้งที่เขาเลี้ยงเอาไว้ และเขาสังเกตเห็นว่ามีบางอย่างที่พยายามกัดกินถุงพลาสติกของเขา เมื่อเขาหยิบถุงพลาสติกขึ้นมาดูก็เห็นเจ้าหนอน Waxworm ออกมาจำนวนมาก

เขาก็เลยได้ลองเอาเจ้าหนอน Waxworm จำนวนหนึ่ง 100 ตัวใส่ลงไปในกล่องที่มีถุงพลาสติกอยู่ 1 ใบ ไม่น่าเชื่อว่าเวลาผ่านไปเพียงแค่ 12 ชั่วโมงมันสามารถย่อยถุงได้จนเป็นที่น่าประหลาดใจ

Dr. Federica Bertocchini จึงได้นำหนอนที่ได้ลองทดสอบให้มันกินถุงพลาสติกไปก่อนหน้านั้นเอามาพิสูจน์ เพื่อหาความลับที่ซ่อนไว้ จนเขาได้คำตอบว่าเจ้าหนอน Waxworm มันมีความพิเศษตรงที่เอนไซต์ที่มีประสิทธิภาพสูงในน้ำลายและลำไส้ของมันที่สามารถย่อยสลายถุงพลาสติกได้เป็นอย่างดี

หลังผ่านการวิเคราะห์หลายต่อหลายครั้ง พบว่า waxworm จะทำลาย พันธะเคมีของพลาสติก แปลงเป็นเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารป้องกันการแข็งตัวและยังถูกใช้เป็นตัวทำละลาย Paolo Bombelli นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ชี้ว่า การย่อยสลายพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ถึงตอนนี้การค้นพบนี้มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้แล้ว!

นักวิยาศาสตร์หวังว่าพวกเขานั้นจะสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตการสืบพันธุ์จำนวนมาก และเอาเอนไซม์ของเจ้าหนอน Waxworm ไปพัฒนาต่อเพื่อให้สามารถเอาใช้ในการย่อยสลายพลาสติกได้ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตปัญหาของขยะจากถุงพลาสติกคงลดน้อยลงอย่างแน่นอน

ขอบคุณที่มา brightside