พิธี “โล้ชิงช้า” ที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์สยามกว่า 86 ปี

” พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย “

พีธีโล้ชิงช้า หรือชื่อเดิมว่าพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กระทั้งถึงสมัยราชกาลที่ 7 แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ (มกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์

สำหรับพิธีโล้ชิงช้านั้น ในราชอาณาจักรไทยปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ในอดีต โดยมีพระยายืนชิงช้าเป็นตัวแสดงสำคัญ เปรียบเป็นพระมหากษัตริย์ โดยพิธีโล้ชิงช้านี้ถูกยกเลิกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 โดยได้คาดการณ์ว่าคงเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย

นอกจากนี้ ในประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน

ล่าสุดทางผู้ว่าราชการกรุงเทพพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เตรียมนำเสนอแนวคิดว่าจะรื้อฟื้นเพื่อสร้างการรับให้กับคนรุ่นได้เรียนรู้ถึงพิธีดังกล่าว  แต่อย่างไรก็ตาม การจัดพิธีโล้ชิงช้าเป็นเพียงแนวคิดของกรุงเทพมหานครเท่านั้น ไม่สามารถทำได้โดยพลการ ต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักพระราชวัง กรมศิลปากร ฝ่ายความมั่นคง ทหาร ฝ่ายพราหมณ์ เบื้องต้นกรุงเทพมหานครจะเสนอเรื่องไปยังรัฐบาลก่อน หากรัฐบาลเห็นด้วยก็จะต้องขอพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกรุงเทพมหานครคาดว่าใช้เวลาประมาณ ๑ สัปดาห์ในการเตรียมข้อมูลเสนอเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนขอความเห็นชอบจากรัฐบาลว่าจะมีความเห็นเป็นอย่างไร

ขอบคุณข้อมูล tnewswikipedialiekr
ติดตามข่าวสารอีกมากมายได้ที่  l LP-YEAM.COM